วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

แหล่งข้อมูลหลัก



ข้อมูลจาก

 http://www.mindphp.com/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD/73-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/2186-iso-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html


 ข้อมูลอ้างอิง


http://phichit.dlt.go.th
http://www.ru.ac.th
http://www.pattanakit.net

ข่าวที่เกี่ยวข้อง



พาณิชย์ประกาศเพิ่มรายชื่อสินค้าควบคุมอีก 16รายการ รับน้ำท่วม

 

 

จากภาวะภัยพิบัติในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลายลง แม้ว่าทางรัฐจะทำการตั้ง ศปภ. ขึ้นมาเพื่อรับมือ วางแผน ป้องกันภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังเรียกว่า ยังไม่สามารถรับมือได้ดีเท่าที่ควรเท่าไหร่(ตามความคิดผมนะครับ) ศูนย์ ศปภ. อยู่ที่ดอนเมือง.. ข้างนอกน้ำท่วมข้างแต่ข้างในศูนย์ไฟไหม้เนื่องจากเครื่องทำกาแฟมันลัดวงจร เหอะๆ คิดดูแล้วกันครับท่านผู้อ่านที่เคารพ
 
รูปภาพจาก finder.in.th
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. เห็นชอบให้มีประกาศรายการสินค้าควบคุมเพิ่มเติม 16 รายการ จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 41รายการ
สินค้าควบคุมเพิ่มเติมอีก 16 รายการ ได้แก่
1.น้ำดื่ม
2.กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า
3.ไฟฉาย
4.ถ่านไฟฉาย
5.ยาสีฟัน
6.แปรงสีฟัน
7.ทราย ทรายบรรจุถุง
8.อิฐบล็อก
9.เสื้อชูชีพ
10.เรือพลาสติกขนาดเล็ก
11.รองเท้าบูทยาง
12.เครื่องนอน
13.ถังน้ำ
14.เครื่องสูบน้ำ
15.ผลิตภัณฑ์ยาป้องกันน้ำกัดเท้า
16.เทียนไข
โดยสินค้าควบคุมทั้งหมด ต้องมีการแจ้งต้นทุนการผลิต ปริมาณ สถานที่เก็บ และกำลังการผลิตให้ทางกรมการค้าภายในทราบ และห้ามเปลี่ยนแปลงราคา โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยให้มีผลตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป จนถึงสิ้นปี 2554 ทั้งนี้ หากมีการจำหน่ายเกินราคา จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากไม่แจ้งตามประกาศ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนั้นนะครับ จากรายละเอียดข่าวปลีกย่อยที่หน้าเว็บกรมการค้าภายในก็ยังมีการประกาศกำหนดราคาน้ำดื่มขวดใส ให้ทางผู้จำหน่ายค้าปลีกกรุณาตรึงราคาไว้ดังนี้
·         น้ำดื่มขวดพลาสติกใส(Pet) ขนาด 500-600 ซีซี จำหน่ายไม่เกินขวดละ 7 บาท
·         น้ำดื่มขวดพลาสติกใส(Pet) ขนาด 1.5 ลิตร จำหน่ายไม่เกินขวดละ 14 บาท
หากพบมีการจำหน่ายเกินราคาแนะนำจะดำเนินการตามกฎหมาย โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประชาชนผู้บริโภคพบเห็นการจำหน่ายน้ำดื่มเกินราคาแนะนำ แจ้งได้ที่ สายด่วน กรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานการค้าภายในจังหวัดในท้องที่



อย. เตือนผู้ประกอบการ หยุด! ลักลอบผลิต/นำเข้า/จำหน่าย ปลาปักเป้า

อย. เตือนผู้ประกอบการ หยุด! ลักลอบผลิต/นำเข้า/จำหน่าย ปลาปักเป้า ย้ำ! อย. ไม่อนุญาตให้ผลิต/นำเข้า/จำหน่าย ปลาปักเป้า เนื่องจากการบริโภคปลาปักเป้าเสี่ยงต่อการได้รับ สารพิษเตโตรโดท็อกซิน ซึ่งหากได้รับสารพิษนี้เพียง 2 มิลลิกรัม ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ อย. ขอเตือนผู้ประกอบการ ที่ฝ่าฝืนประกาศกระทรวงฯ ลักลอบผลิต/นำเข้า/จำหน่ายปลาปักเป้าและอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสม ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว หาก อย. ตรวจพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีมีข่าวการลักลอบจำหน่ายปลา ปักเป้า (Puffer Fish) ซึ่งสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ขอให้ อย. ออกมาตรการให้สามารถนำปลาปักเป้า สายพันธุ์ไม่มีพิษมาจำหน่ายได้เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นการปิดช่องไม่ให้มีผู้หาผลประโยชน์ เรียกรับ สินบนจากโรงแล่ นั้น
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า อย. มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 264) พ.ศ. 2545 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยกำหนดให้ปลาปักเป้า ทุกชนิด และอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย และมีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2545 เนื่องจาก อย. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก ทั้งนี้ จะเห็น ได้จากรายงานการเป็นพิษจากการบริโภคปลาปักเป้าอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472-พ.ศ. 2551 พบผู้ป่วย 89 ราย เสียชีวิต 24 ราย ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ อย. ต้องมีมาตรการในการกำกับดูแลอย่างเข้มงวด
เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า ปลาปักเป้า หรือชื่อที่ใช้เรียกโดยทั่วไปคือ ปลาเนื้อไก่ เนื่องจากมีลักษณะ เหมือนเนื้อไก่นั้นมีหลายชนิดทั้งมีพิษและไม่มีพิษ ซึ่งเมื่อแล่เป็นเนื้อปลาแล้ว จะไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นชนิดที่มีพิษ หรือไม่ จึงเสี่ยงต่อการนำมาบริโภค เนื่องจากการบริโภคปลาปักเป้าผู้บริโภคอาจได้รับสารพิษเตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) หากได้รับสารพิษนี้ปริมาณเพียง 2 มิลลิกรัม จะเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือหากได้รับในปริมาณต่ำ จะเกิดอาการชาที่ริมฝีปาก มือ และเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นอัมพาต หายใจขัด ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดได้ ภายใน 10-45 นาที ทั้งนี้ สารพิษดังกล่าวสามารถทนความร้อนได้สูง การต้ม ทอด หรือย่าง ไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคถึงขั้นเสียชีวิต อีกทั้งการแล่เนื้อปลาปักเป้าที่ทำอยู่ในประเทศไทยนั้น เป็นการแล่ โดยอาศัยประสบการณ์ ผู้แล่อาจไม่มีความรู้อย่างแท้จริง จึงมีความเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งต่อการปนเปื้อนสารพิษ เตโตรโดท็อกซินในเนื้อปลา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มียาใดสามารถรักษาพิษดังกล่าวได้
เลขาธิการฯ อย. กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ขอเตือนผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนประกาศฯ ลักลอบผลิต/นำเข้า/ จำหน่ายปลาปักเป้า ขอให้หยุดการกระทำดังกล่าว พร้อมกันนี้ อย. ได้ประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ให้ตรวจสอบการลักลอบผลิต/ นำ เข้า/จำ หน่าย ปลาปักเป้าและอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสม และดำเนินการตามกฎหมายทันที ซึ่งหาก อย. พบผู้ผลิต/นำเข้า/จำหน่าย ปลาปักเป้า จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 2 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-20,000 บาท กรณีจำหน่ายปลีกให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากผู้บริโภคพบเห็นการกระทำดังกล่าว ขอให้แจ้งเบาะแสมาที่สายด่วน อย. 1556 เพื่อ อย. จะได้ดำเนินการปราบปราบผู้ประกอบการที่เอาเปรียบผู้บริโภค โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย ของผู้บริโภคให้ถึงที่สุด สำหรับข้อเรียกร้องให้ทบทวนแก้ไขประกาศฯ นั้น อย. อยู่ในระหว่างศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค และความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งมาตรการรองรับที่เหมาะสม ชัดเจน และ สามารถปฏิบัติได้ ดังนั้น ในขณะนี้จึงขอให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

บทความพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร



 

9point Hedonic scales


การทดสอบความชอบของผู้บริโภคด้วยวิธี 9Point Hedonic Scales Test นิยมใช้ในการทดสอบการยอมรับของผู้บริโภค หรือใช้ทดสอบการยอมรับหลังจากได้พัฒนาสูตรต้นแบบเสร็จแล้ว โดยเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากมีความง่าย แม้มีตัวอย่างเดียวก็สามารถใช้วิธีนี้ ทดสอบความชอบของผู้บริโภคที่มีต่อตัวผลิตภัณฑ์หรือตัวอย่างที่นำมาทดสอบได้ นอกจากนั้นยังสามารถประยุกต์แบบฟอร์ม เพื่อหาความชอบโดยรวมของกลุ่มผู้บริโภคที่มีต่อคุณลักษณะต่างๆได้เช่นเดียวกัน อันเป็นการต่อยอดทางความคิด ซึ่งการออกแบบฟอร์มที่ดีจะต้องกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เนื่องจากผู้ทดสอบทั่วไปไม่ชอบการนั่งเขียนพรรณนาความชอบเป็นหน้ากระดาษ การใช้ตัวเลขเพื่อใช้บอกความชอบจึงเป็นทางออกในการเก็บข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ได้แปรผลทางสถิติง่ายที่สุดด้วย

สมมติว่ามีตัวอย่างการพัฒนาน้ำส้มยูเอชทีที่มีการใส่เกล็ดส้มลงไปด้วย หากเราต้องการอยากทราบว่ากลุ่มผู้ทดสอบตัวอย่างชอบสูตรไหนมากกว่ากัน ชอบมากเท่าไหร่ ระดับความชอบอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้หรือไม่ ก็มีเทคนิคในการวิเคราะห์แปรผลความชอบง่ายๆ โดยเริ่มจากการสุ่มใส่เลขรหัสของตัวอย่างลงไปก่อน
 ตัวอย่างน้ำส้มวัดระดับความชอบ


จากนั้นก็เซิร์ฟตัวอย่างทั้งสอง ให้กับผู้ทดสอบทีละตัวอย่าง หรือ เซิร์ฟพร้อมกันก็ได้ โดยให้ผู้ทดสอบชิม และระบุตัวเลขระดับความชอบลงไปในแบบฟอร์มที่ออกแบบไว้
 แบบฟอร์มที่1


นี่เป็นตัวอย่างของการออกแบบแบบฟอร์มทดสอบความชอบของ 9Points Hedonics Scale แบบง่ายๆ ซึ่งผู้อ่านบทความนี้ สามารถนำตัวอย่างนี้ไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาสูตรได้ ยกตัวอย่างเช่น การวัดความชอบของแต่ละคุณลักษณะที่ปรากฏโดยอาศัยรูปแบบการทดลองของ 9Point Hedinic Scales ตามตัวอย่างแบบฟอร์มด้านล่าง
 แบบฟอร์มประยุกต์


แบบฟอร์มข้างต้นนี้ใช้เพื่อเก็บข้อมูลความพึงพอใจของผู้บริโภคในคุณลักษณะต่างๆ แล้วจึงเก็บข้อมูลตัวเลขไปแปรผลการทดสอบโดยทดสอบความแตกต่างด้วย t-test หรือวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA นอกเหนือไปจากนี้แบบฟอร์มข้างต้นนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อการประเมินทางประสาทสัมผัสด้วย Ratio Profile Test กับตัวอย่างในอุดมคติ ที่จะมีการเปรียบเทียบคุณลักษณะปรากฏด้วยการใช้แผนภาพใยแมงมุม




แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงปฏิบัติ


หลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์เราสามารถที่จะนำไปปรับใช้งานกับการผลิตในไลน์ต่างๆได้สารพัด ไม่เพียงแต่สายอาหารตามคอมเซปท์ของเราเท่านั้นนะครับ อุตสาหกรรมการผลิตอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรการผลิต, รถยนต์, เฟอนิเจอร์, ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ เป็นต้น ก็ต้องมีการที่จะต้องรู้จักนำหลักการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปใช้ทั้งนั้น ผู้ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ตัวไหนที่ติดตลาด เอาออกมาขายแล้วก็นั่งๆนอนๆ ถ้าแบรนด์ไม่แข็งจริง หรือผู้บริโภคเขาสร้างกลุ่มลัทธิบริโภคแบรนด์นิยมตรงนั้นขึ้นมา ก็มีสิทธิตกกระป๋องในเวลาไม่นานได้เหมือนกันครับ เพราะทันทีที่สินค้าตัวไหนก็ตามแต่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค ย่อมจะมีคู่แข่งที่ต้องการส่วนแบ่งการตลาดเสมอๆ

แนวทางในเชิงปฏิบัติของงานทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมตัวอย่างอธิบายประกอบ มาอธิบายประกอบด้วย ซึ่งมันก็คือการด้นสดทั้งนั้น..เพื่อให้ผู้อ่านโดยทั่วไปสามารถเข้าใจได้โดยง่าย ก็จะอธิบายเรื่องใกล้ตัว ไม่นับเฉพาะอาหารมาแต่เพียงอย่างเดียว

1. การปรับปรุงตัวผลิตภัณฑ์เดิม


เปลี่ยนรูปร่างและโครงสร้าง

เริ่มแรกก็จะขอยกตัวอย่างที่ไม่ใช่อาหารกันก่อนนะครับ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของการปรับเปลี่ยนรูปร่างและโครงสร้าง โดยที่คงคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ไว้ ได้แก่ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ หลายๆยี่ห้อในบ้านเรา รถที่ออกปี 2008 กับ2010 นอกจากกระจังหน้า แล้วท้ายแล้ว อย่างอื่นที่เป็นองค์ประกอบหลักเช่น ระบบเครื่องยนต์, ช่วงล่าง, ระบบไอเสีย แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย

การ์ดจอ และซีพียูบางยี่ห้อ... ก็ทำกันได้เหมือนกัน ถ้าสนใจเรื่องสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ เราจะพบว่าการ์ดจอบางตัวที่ออกมาในระยะเวลาปีเดียวกัน ตัวชิปกราฟฟิกที่ทำหน้าที่ประมวลผลระหว่างตัวล่างกับตัวรุ่นกลาง ก็เป็นตัวเดียวกันรุ่นเดียวแท้ๆ ใช้code nameการผลิตเหมือนกัน เพียงแต่ว่าทางโรงงานเขาทำการโอเวอร์คล็อกให้มีสปีดนาฬิกาสูงขึ้นเล็กน้อย

แต่ถ้าเป็นตัวอย่างของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในรูปแบบนี้ ผมขอยกตัวอย่างแหนมครับ เรามีทั้งแหนมแท่งขนาดใหญ่ ขนาดพอดีบริโภค และแหนมตุ้มจิ๋ว แหนมทุกแบบที่ว่ามาสามารถเอามาบริโภคได้เหมือนกัน ทั้งยำ บริโภคสด ซึ่งไม่ว่าจะแหนมแท่ง แหนมตุ้ม ทุกอย่างเหมือนเดิมหมดไม่ว่าจะเป็นสูตรการผลิต บรรจุภัณฑ์ โดยแตกต่างกันเพียงขนาดบริโภคที่ผู้ผลิตมีทางเลือกในการเลือกซื้อให้กับลูกค้าผู้ซื้อ



ปรับปรุงกรรมวิธีและเครื่องจักรการผลิต

การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต เป็นการพัฒนากระบวนการผลิตโดยที่คงสูตรเดิมไว้ เช่น การใช้เครื่องมือเครื่องจักรมาช่วยผลิตแทนมือมนุษย์ ซึ่งก็เป็นขั้นตอนของการขยับขยายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต และเพิ่มความเที่ยงตรงในการผลิต หรืออาจจะมีความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรโดยเหตุผลในการอนุรักษ์พลังงาน นอกจากนั้นการปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตอาจจะเกิดเพื่อแก้ไขจุดด้อยของการผลิตตามจุดต่างๆของการผลิตด้วย เช่น เพื่อลดการปนเปื้อน, ลดการสูญเสียสารอาหาร

ปรับปรุงสูตรผลิตภัณฑ์

จะยกเรื่องการพัฒนาสูตรของผงซักฟอกในอดีตนะครับ ในอดีตนั้นเจ้าตลาดไม่ใช่ยูนีลิเวอร์ แต่เป็นอีกเจ้านึงที่เอาผงซักฟอกสูตรญี่ปุ่นมา ซึ่งจากการที่ผู้ท้าชิงอย่างยูนิลิเวอร์รู้จักทำสินค้าออกมาขายคนไทย รู้ใจว่าแม่บ้านชาวไทยของเราชอบผงซักฟอกแบบฟองเยอะๆ ยิ่งเยอะยิ่งขยี้มันมือ และฟองเยอะแล้วสะใจดี ขนาดว่าซักด้วยเครื่องยังขอเอามือไปขยี้พอเป็นพิธีอีก...แต่อย่างไรก็ตามครับ ปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากฟองเยอะ ก็เป็นส่วนประกอบที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้ผงซักฟอกเช่นกัน

2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่


ตัวอย่างของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เห็นชัดๆ และผมก็ทึ่งกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดนี้อย่างมากก็คือ บรรดาเนื้อสัตว์เจทั้งหลาย เช่น หมูแดงเจ, กระเพาะปลาเจ ซึ่งผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่าเขามีวิธีในการทำ ปรับสูตรยังไงถึงได้เนื้อสัมผัส และลักษณะภายนอกที่ใกล้เคียงกับของธรรมชาติ

นอกจากตัวอย่างข้างต้นก็จะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ๆขึ้นมา เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผมเคยเอาคลิปของโรงงานมาม่ามาให้ชมในเว็บของเราแล้วนะครับ ซึ่งจะมีส่วนของการสรรหาสูตรบะหมี่ใหม่ๆ โดยการตระเวณกิน ลองหาชมในเว็บละกัน

ประโยชน์ของการพัฒนาใหม่นั้น นอกเหนือไปจากการที่จะได้ผลิตภัณฑ์ใหม่มาขาย ซึ่งบางทีจริงๆแล้ว ทางผู้ผลิตเองก็อาจจะมีเหตุผลอื่นๆด้วยนะเออ เช่น ต้องการขอปรับแจ้งราคาใหม่กับกรมการค้าภายใน ซึ่งกลไกในการปรับขอขึ้นราคากับตัวผลิตภัณฑ์ตัวเก่าที่เคยแจ้งจดไปแล้ว จะทำได้ยากเย็นมาก แต่ถ้าเราจดทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่แล้วยื่นราคาใหม่เลย ก็จะทำได้ง่ายกว่า เช่น นมหวานยูเอชทีปกติจะกล่องละ 11บาท ถ้าผู้ผลิตขอขึ้นเป็น 12.50บาท ตามราคาจริงที่ควรขาย(คิดจากต้นทุนที่เพิ่ม) รับรองว่ายากครับ... แต่ถ้าใส่แคลเซียมสักนิด ผสมไวตามินดีสักหน่อย แล้วทำการจดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ กลายเป็นนมหวานยูเอชทีผสมแคลเซียมและไวตามินดี โดยตั้งราคา13บาท ก็จะปรับราคาง่ายกว่า...และโรงงานอยู่ได้ด้วย

แล้วก็ทิ้งท้ายไว้กับความหัวใสของผลิตภัณฑ์อุทัยทิพย์.. โดยวิจัยพฤติกรรมการใช้ของผู้ซื้อ(มั้ง?) คงจะเคยเห็นสาวๆ เอาน้ำยาอุทัยทิพย์ที่เหยาะน้ำดื่มมาทาปากนะครับ สาวๆแถวนี้เขาว่าสีมันติดริมฝีปากนาน โรงงานเขาก็เลยแตกออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ซะเลย แล้วยังขายได้อีกต่างหาก

3. การปรับปรุงเฉพาะบรรจุภัณฑ์


จะหาบรรจุภัณฑ์ใดเล่าที่จะอินเทรนด์ในช่วงกาลนี้ เทียบเท่ากับบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก ถ้าไม่ใช่วัสดุที่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเอง ก็ทำแบบ Re-fillออกมาเพื่อลดปริมาณขยะชิ้นใหญ่ ผู้ผลิตได้ทั้งภาพลักษณ์ ในวงการอุตสาหกรรมอาหารกระป๋อง ถ้าใกล้ตัวหน่อยที่รู้จักกันดีก็ได้แก่ การนำเอาถุงทนร้อน หรือ เพาช์ มาใช้กับอาหารกระป๋องแทนกระป๋อง TFS เพื่อลดการใช้โลหะลง(แต่ก็ต้องแลกกับการปรับกระบวนการผลิตด้วย)

แต่ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารก็มีการพัฒนาด้านบรรจุภัณฑ์ เพื่อลดการใช้โลหะในส่วนของกระป๋อง โดยใช้โพลีเมอร์มาเป็นส่วนประกอบในส่วนของเนื้อโลหะ เราเรียกสิ่งนั้นว่า กระป๋อง TULC

หรือที่มาแล้วไปแล้วอย่างรวดเร็ว ก็ได้แก่ "ตราหมีบีบ" ที่ออกมาบรรจุภัณฑ์สะดวกใช้ให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการเลือกซื้อ บอกตรงๆว่าผมชอบบรรจุภัณฑ์ตราหมีบีบแบบนั้นมากๆครับ เพราะมันใช้สะดวกดี หนึ่งคือไม่ต้องเจาะ ไม่ต้องง้อที่เปิดกระป๋อง สองคือขนาดพอดีมือมาก ตอนนมเต็มๆสามารถยกแทนดัมเบลได้ สามคือฝามันปิดได้ เด็กที่อยู่หอจะชอบมาก เพราะว่าหลายคนไม่มีตู้เย็น พอเจาะนมข้นหวานแล้ว ถ้าไม่หาตู้เย็นแช่ ก็รับรองว่านมข้นได้ขึ้นราแน่

                การแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด แย่งชิงพื้นที่การวางตัวสินค้าบนชั้นวาง ในด้านการผลิตนักอุตสาหกรรมอาหารมีหน้าที่ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของวัตถุดิบที่มี ส่วนงานอื่นๆนอกจากนี้ก็จะเป็นส่วนของการโฆษณา การกระจายสินค้า แต่เชื่อเถอะครับว่าถ้าสินค้ามีคุณภาพดีจริง ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค และอยู่ในกระแสสังคม ยังไงๆมันต้องขายได้ ดังนั้นผู้ที่หยุดการพัฒนาในแง่ต่างๆข้างต้น อยู่ดีๆก็อาจจะกลายเป็นผู้แพ้ ต่อให้ปัจจุบันคุณอยู่บนยอดเขาแต่ถ้าเมื่อใดก็ตามที่คุณมีผู้ตาม ผู้นำตลาดก็อาจจะร่วงลงมาได้เช่นกัน จริงๆแล้วคำว่าชัยชนะของการตลาดอาจจะไม่จำเป็นว่าผลิตภัณฑ์ของเราจะต้องมีส่วนแบ่งมากที่สุด แต่ที่ถูกต้องก็คือ การที่ผลิตภัณฑ์ของเรานั้นมีส่วนแบ่งตลาดในจุดที่ผู้ผลิตพึงพอใจ และคุ้มค่าการต้นทุนต่างๆ ซึ่งการจะทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราสู้กับแบรนด์อื่นๆได้ ผมได้แนะนำแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้างต้นไว้แล้ว




Duo-Trio Test

วิธีการจำแนกความแตกต่างของตัวอย่างกลุ่ม 2 ตัวอย่าง โดยการประเมินทางประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างไปจากวิธี Triangle Test อยู่เล็กน้อยนะครับ สำหรับวิธีนี้เราจะมีตัวอย่างมาตรฐานตัวนึง แล้วในการทดสอบ ก็จะให้ผู้ทดสอบของเราทำการเลือกตัวอย่าง 1จาก2ตัว แล้วพิจารณาเปรียบเทียบด้วยประสาทสัมผัส ว่าตัวไหนที่เหมือนกับตัวอย่างมาตรฐาน ฟังที่ผมอธิบายแล้วอาจจะมึน ดูภาพประกอบดีกว่า

ขอยกตัวอย่างการวิเคราะห์ความแตกต่างทางประสาทสัมผัสด้วยเครื่องดื่มน้ำดำเหมือนเดิมครับ เพราะขี้เกียจทำรูปใหม่...จริงๆหลักการประเมินทางประสาทสัมผัสโดยการวิเคราะห์เชิงนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องจำกัดเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนะครับ อะไรที่ใช้การประเมินประสาทสัมผัสก็สามารถใช้วิธีในทำนองนี้ได้เหมือนกัน

วิธีการทดสอบ DUO TRIOTEST

Pepsi กับ Coca-Cola



คุณแยกออกไหมครับ ระหว่างมุมน้ำเงิน กับ มุมแดง 

 ภาพการ์ตูน


ซ้ายมือสุดคือ ตัวอย่างมาตรฐานR ผู้ทดสอบจะต้องประเมินประสาทสัมผัสว่า... แก้วไหนกันแน่ระหว่างที่เลเบลด้วยเลข 200หรือ 987 ที่เหมือนกับตัวอย่างมาตรฐาน R

สำหรับวิธีประเมินทางประสาทสัมผัสด้วยวิธีนี้ โอกาสที่ผู้ทดสอบแต่ละคนเลือกแก้วถูกจะอยู่ที่ 50% วิธีนี้ก็เป็นวิธีการจำแนกความแตกต่างโดยรวม (Overall Different Test หรือ Overall Discrimination Test) แบบง่ายๆวิธีนึง ซึ่งมีประโยชน์มากในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 
 แบบฟอร์ม Duo Trio Test


ส่วนขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งเราจะต้องทำการตั้งสมมติฐานในลักษณะนี้นะครับ

สมมติฐานหลัก

H0 : ผู้บริโภคแยกความแตกต่างไม่ได้

สมมติฐานรอง

H1 : ผู้บริโภคแยกความแตกต่างได้

แล้วต่อจากนั้นเราต้องมีการกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ และตัวทดลองที่คิดว่าเหมาะสมกับจำนวนตัวอย่างนี้ประกอบกัน

ผมเองไม่ค่อยชอบแบบฟอร์มที่มีช่องให้ผู้ทดสอบกรอกเยอะๆนะ ผมมองว่าในส่วนตรงนั้น เราในฐานะคนออกแบบการทดสอบต้องเป็นคนใส่เอง อาจจะใส่โค้ดเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเหยื่อ ที่สละเวลามาช่วยทำการทดสอบ ลองนึกภาพตอนที่เราไปเดินห้างสิครับ ใครๆก็คงจะไม่ชอบที่จะต้องมานั่งกรอกข้อมูลลงในเอกสารทีละหลายแผ่นแน่นอน ผมละเกลียดนักเชียว แบบฟอร์มที่ให้กรอกอายุแบบไม่ตั้งช่วงอายุมาให้ ดังนั้นการออกแบบฟอร์มจะต้องง่าย และเน้นในส่วนที่เราต้องการ และผู้ทดสอบเข้าใจง่าย ถึงจะเป็นแบบฟอร์มที่ใช้งานได้ดี




Triangle Test


ในเมื่อผมเปิดหมวดย่อยในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้ว การนำเสนอหลักการทดสอบทางประสาทสัมผัส ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนขึ้นมา เพื่อเราๆท่านๆ จะได้วิเคราะห์ความแตกต่างทางด้านประสาทสัมผัสได้อย่างมีหลักการนะครับ ก็เริ่มต้นจากวิธีที่ง่ายที่สุดกันก่อน นั่นคือ Triangle Test  ซึ่งเอาไว้ใช้สำหรับวิเคราะห์แยกความแตกต่าง(Difference Test) ของตัวอย่างสองในสาม โดยหนึ่งในนั้นจะเป็นตัวที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เราได้ทราบว่าผู้ทดสอบนั้นสามารถแยกกลุ่มได้หรือไม่



เพื่อให้เห็นภาพนะครับ น้ำอัดลมน้ำดำสองยี่ห้อนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนดี
 โค้ก กับ เปปซี คุณแยกรสชาดออกไหม


ถ้ากินจากแก้ว สารภาพครับว่า ผมยังแยกไม่ออกเลยว่า เปปซีกับโคคาโคลามันรสชาดต่างกันยังไง อันไหนซ่ากว่ากัน หรืออันไหนที่หวานกว่ากัน...แล้วผู้อ่านแยกออกไหมครับว่ามันต่างกันยังไง

วิธีการทดสอบ TRIANGLE TEST


ก่อนอื่นนะครับ เราก็ต้องเตรียมตัวอย่างสามตัวอย่าง โดยที่มีการเลเบล(label)เลขรหัส ซึ่งมีประโยชน์ช่วยในการบันทึกข้อมูล สมัยผมเรียนเขาจะมีตารางเลขสุ่มมาให้ของเมลการ์ด ผู้ทดสอบหรือเหยื่อของเราต้องไม่ทราบว่า ในแต่ละตัวอย่างนั้นใส่อะไรลงในแก้วไหน
 Triangle Test


สำหรับการวิเคราะห์นั้นนะครับ เราจะทำการวิเคราะห์โดยจะให้ผู้ทดสอบ ชิมหรือทดสอบทั้งสามตัวอย่างก่อนที่จะบอกว่า "แก้วใด จาก1ใน3นั้นที่มีรสชาดแตกต่างออกไป" ซึ่งโอกาสที่ผู้ทดสอบจะแยกถูกอยู่ที่ 33.3333% หรือ 1ใน3

จะเห็นว่าวิธีนี้มีรูปแบบง่ายมากใช่ไหมครับ ก็มันง่ายจริงๆนั่นแหละ แล้วก็อย่าลืมเรื่องของจำนวนผู้ทดสอบด้วยนะครับ ยิ่งเยอะ ก็จะยิ่งลดความแปรปรวนลงได้ การใช้ตัวอย่างน้อยๆจริงๆก็ทำได้เหมือนกัน ถ้าได้มีการฝึกฝนผู้ชิมแล้ว แต่ถ้าผู้ชิมไม่ใช่โปร หรือเซียนในด้านดังกล่าว ก็ให้ใช้จำนวนผู้ทดลองเยอะๆไว้ก่อน ความคลาดเคลื่อนจะได้ลดลงบ้าง
 Triangle Test Form


ส่วนขั้นตอนต่อไปที่สำคัญคือการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งเราจะต้องทำการตั้งสมมติฐานในลักษณะนี้นะครับ

สมมติฐานหลัก

H0 : ผู้บริโภคแยกความแตกต่างไม่ได้

สมมติฐานรอง

H1 : ผู้บริโภคแยกความแตกต่างได้

แล้วต่อจากนั้นเราต้องมีการกำหนดนัยสำคัญทางสถิติ และตัวทดลองที่คิดว่าเหมาะสมกับจำนวนตัวอย่าง ซึ่งผมได้อธิบายไปในส่วนของเรื่องสถิติไว้แล้วนะครับ ลองกลับไปอ่านบทความในบล็อกนี้ดู

TRIANGLE TEST มันมีประโยชน์ยังไง

ในความง่ายของวิธีนี้มันกลับมีประโยชน์มากมาย สมมติว่าเราพัฒนาสูตรอาหารที่มีความคล้ายคลึง(หรือเลียนแบบ) กับสินค้าเจ้าตลาด แล้วผู้ทดสอบส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้ นั่นก็แปลว่าเราประสบความสำเร็จในการลอกเลียนสูตรอาหารแล้วนะจ๊ะ หรือในอีกกรณีคือ การพัฒนาสูตรอาหารเพื่อทดแทนของที่มีอยู่เดิมแล้ว หรือทดสอบการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่กับของเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น สมมติว่าเราจะเปรียบเทียบกุนเชียงสูตรมาตรฐาน กับกุนเชียงที่มีการใช้สารเคมีอื่นแทนฟอสเฟต เป็นต้น