ความร้อนจำเพาะ

ในการศึกษาเรื่องของการออกแบบระบบทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัววัสดุ
ค่าความร้อนจำเพาะ (Specific heat) หรือ ความจุความร้อน (Heat capacity) ถือเป็นคุณสมบัติทางกายภาพที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการคำนวณ
สำหรับนิยามของพารามิเตอร์ตัวนี้
ก็จะเป็นปริมาณความร้อนที่เกิดการรับหรือสูญเสียคิดต่อหนึ่งหน่วยมวลสาร
และหนึ่งหน่วยอุณหภูมิ โดยที่สสารไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะ
ในการคำนวณหาค่าความร้ิอนสัมผัสของระบบที่เราสนใจ ก็จะมีการใช้ค่าความจุความร้อน
หรือ ความร้อนจำเพาะที่ว่านี้ เป็นองค์ประกอบในตัวสมการเสมอ
และสำหรับบทความนี้จะเป็นการนำเสนอที่มาที่ไปของการหาค่าความจุความร้อนในตัวอาหารนะครับ
ก็เผื่อว่าจะมีคนสนใจทำโปรเจคเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพของอาหารมากขึ้น
โดยเป็นการเขียนเพิ่มเติมจากของเดิมที่เนื้อหาดูจะน้อยไปนิด
สำหรับสมการของการหาความร้อนสำหรับปริมาณความร้อนแฝงจะมีรูปทั่วไปคือ

เราจะเห็นในสมการที่ 1 นะครับว่า ค่า Cp นี้เป็นตัวแปรสำคัญในการวิเคราะห์ทางความร้อนของกระบวนการแปรรูป
หรือการออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือในอุตสาหกรรมอาหารเลยทีเดียว
ค่าความจุความร้อนยังเป็นฟังก์ชันกับอุณหภูมิ อีกด้วยนะ
สำหรับการได้มาซึ่งค่า Cp เราพบว่าตัวแปรดังกล่าวมีความสัมพันธ์
โดยเป็นฟังก์ชันขององค์ประกอบต่างๆในอาหาร ไม่ว่าจะเป็น อุณหภูมิ, ความชื้น และความดัน
ค่าความร้อนจำเพาะจะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อความชื้นในอาหารสูงขึ้น สำหรับแก๊ส
ค่าความร้อนจำเพาะที่ความดันคงตัวให้สัญลักษณ์เป็น Cp จะมีค่าสูงกว่าค่าความร้อนจำเพาะที่ระดับปริมาตรคงตัวโดยจะให้สัญลักษณ์เป็น
Cv
ส่วนในทางด้านอาหารจะนิยมการใช้ Cp มากกว่า Cv เนื่องจากถือว่าความดันเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
ยกเว้นในกระบวนการที่ใช้ความดันสูงๆ ในการออกแบบกระบวนการทางอาหาร
และอุปกรณ์ในการผลิต เราต้องทราบค่าความร้อนจำเพาะของวัสดุอาหาร
และวัสดุอื่นๆที่ใช้ในกระบวนการ
การที่จะได้มาซึ่งค่าความร้อนจำเพาะนี้มีด้วยกัน 2 ทางด้วยกันนะครับ
1. ทางแรกก็คืออาศัยข้อมูลสำเร็จที่มีคนหามาแล้วในตารางจากหนังสือตำราต่างๆ
2. ได้มาจากการโดยอาศัยสมการทำการกำหนดตัวแปรต่างที่มีความสัมพันธ์กับค่าความร้อนจำเพาะแล้วสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
โดยทั่วไปแล้วแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะสร้างโดยอ้างอิงองค์ประกอบของอาหารตั้งแต่
1 ขึ้นไป
เป็นที่ทราบกันว่าปริมาณน้ำนั้นเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อค่าความร้อนจำเพาะ
ดังนั้นสมการส่วนใหญ่จึงแสดงค่าความร้อนจำเพาะให้เป็นฟังก์ชันกับปริมาณน้ำในอาหาร
หนึ่งในสมการแรกๆที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความร้อนจำเพาะ
จากการนำเสนอของ Siebel(1892)คือ

เมื่อ Xw คือสัดส่วนโดยมวลของน้ำในอาหาร ในแบบจำลองตามสมการที่ 2 นี้ไม่ได้แสดงถึงผลของอุณหภูมิ หรือ องค์ประกอบอื่นๆในตัวอาหาร สมการของ Siebel
นี้เป็นสมการง่ายๆ แต่ก็ให้คลาดเคลื่อนมากเช่นกัน
ดังนั้น Charm(1978) ได้นำเสนอสมการที่นำเอาส่วนที่องค์ประกอบต่างๆมาคิดร่วมด้วย
เนื่องจากในอาหารไม่ได้มีแต่องค์ประกอบส่วนที่เป็นน้ำอย่างเดียว
ซึ่งก็ทำให้ค่าความจุความร้อนที่ได้จากสมการใหม่นี้
มีความละเอียดและคลาดเคลื่อนน้อยลงด้วยดังสมการที่ 3

เมื่อค่า X แสดงสัดส่วนโดยมวลขององค์ประกอบ
ส่วนตัวห้อย f จะแทนไขมัน, s แทนด้วยของแข็งอื่นปราศจากมันเนย
(nonfat solids) และ w คือน้ำ
ในสมการที่ 3นี้ ในเทอมทางขวามือตัวเลขสัมประสิทธิ์คือค่าความร้อนจำเพาะขององค์ประกอบอาหารตามลำดับ ค่า 4.187 นี้เป็นค่าความร้อนจำเพาะของน้ำที่อุณหภูมิ 70oC และ 2.093 ก็เป็นค่าความร้อนจำเพาะของไขมัน
ในสมการที่ 3นี้ ในเทอมทางขวามือตัวเลขสัมประสิทธิ์คือค่าความร้อนจำเพาะขององค์ประกอบอาหารตามลำดับ ค่า 4.187 นี้เป็นค่าความร้อนจำเพาะของน้ำที่อุณหภูมิ 70oC และ 2.093 ก็เป็นค่าความร้อนจำเพาะของไขมัน
ในลำดับต่อมา Heldman และSingh(1981) ได้เสนอสมการที่ครอบคลุมส่วนองค์ประกอบของอาหารมากขึ้นดังนี้

เมื่อให้ X เป็นสัดส่วนโดยมวล และสัญลักษณ์ตัวห้อยต่างๆ
ทางเทอมขวามือ c, p, f, a และ w จะแทนสัญลักษณ์ในส่วนที่เป็นองค์ประกอบของคาร์โบไฮเดรต,
โปรตีน, ไขมัน, เถ้า
และน้ำตามลำดับ
แต่อย่างไรก็ตาม
สมการที่นำเสนอมาตั้งแต่ในสมการที่ 2-4 นี้ ก็ยังไม่แสดงถึงความสัมพันธ์กับอุณหภูมิเลย
(จริงไหมครับ) ซึ่งทั้งที่จริงค่า นักวิทยาศาสตร์ทราบอยู่แล้วตัวแปรดังกล่าวนั้น
เป็นฟังก์ชันกับอุณหภูมิด้วย ดังนั้นในปี 1986 Choi และ Okos
จึงได้เสนอแบบจำลองสำหรับทำนายค่าความร้อนจำเพาะขึ้นมาใหม่
ตามสมการที่ 5 ซึ่งเป็นสมการที่ละเอียดที่สุด

เมื่อ Xi คือสัดส่วนขององค์ประกอบชนิดที่ i , n คือ
จำนวนขององค์ประกอบทั้งหมดในอาหาร และ Cpi คือความร้อนจำเพาะขององค์ประกอบ i ตามตารางที่ 1
ซึ่งให้ค่าความร้อนจำเพาะเป็นฟังก์ชันของอุณหภูมิ
ในการคำนวณทางปฏิบัตินั้น แนะนำให้ใช้ Microsoft Excel ช่วยในการสร้างspreadsheet
จะได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
ตารางที่ 1 ค่าสัมประสิทธิ์ที่ใช้ในการหาค่าความร้อนจำเพาะในผลิตภัณฑ์อาหาร
Component | Temperature function | Standard error | Standard %error |
---|---|---|---|
Protein | Cp = 2.0082 + 1.2089x10-3T - 1.3129x10-6T2 | 0.1147 | 5.57 |
Fat | Cp = 1.9842 + 1.4733x10-3T - 4.8008x10-6T2 | 0.0236 | 1.16 |
Carbohydrate | Cp = 1.5488 + 1.9625x10-3T - 5.9399x10-6T2 | 0.0986 | 5.96 |
Fiber | Cp = 1.8459 + 1.8306x10-3T - 4.6509x10-6T2 | 0.0293 | 1.66 |
Ash | Cp = 1.0926 + 1.8896x10-3T - 3.6817x10-6T2 | 0.0296 | 2.47 |
Watera | Cp = 4.0817 - 5.3062x10-3T + 9.9516x10-6T2 | 0.0988 | 2.15 |
Waterb | Cp = 4.1762 - 9.0864x10-5T + 5.4731x10-6T2 | 0.0159 | 0.38 |
Ice | Cp = 2.0623 + 6.079x10-3T |
a ใช้เมื่ออุณหภูมิอยู่ในระหว่าง -40 ถึง0oC
b ใช้เมื่ออุณหภูมิอยู่ในระหว่าง 0 ถึง 150oC
จากตารางที่ 1 ผมก็ได้เขียนโปรแกรมตัวเล็กๆสำหรับหาค่าความร้อนจำเพาะของอาหารเหนือจุดเยือกแข็งตามแบบสมการของ Choi และ Okos ไว้

ระบุอุณหภูมิ และ อัตราส่วนเชิงมวล ของแต่ละองค์ประกอบ

และตัวโปรแกรมก็จะหาค่าออกมาให้เอง
สมาชิกสามารถโหลดไปกดเล่นๆกันได้เลยนะครับ ลิงค์ซ่อนไว้เหนือข้อความนี้
สำหรับหน่วยของค่าความร้อนจำเพาะในระบบ SI คือ

หน่วยของค่าความร้อนจำเพาะในระบบ FPS คือ

ตารางที่ 2 ค่าความจุความร้อนหรือความร้อนจำเพาะของอาหารบางชนิด
ผลิตภัณฑ์อาหาร | ปริมาณความชื้น (ร้อยละ) | Cp (J/kg K) | |
---|---|---|---|
![]() |
|||
เนย | 14 | 2050 | |
ครีม | 65 | 2930 | |
หางนม | 91 | 4000 | |
![]() |
|||
ปลาค็อด | 80 | 3520 | |
เนื้อไก่ | 74 | 3310 | |
ไข่ขาว | 87 | 3850 | |
ไข่แดง | 48 | 2810 | |
เนื้อหมู | 60 | 2850 | |
![]() |
|||
แอปเปิ้ล | 75 | 3370 | |
น้ำแอปเปิ้ล | 88 | 3850 | |
ซอสแอปเปิ้ล | - | 3730 | |
ถั่วสด | 90 | 3935 | |
ผักกาด | 91 | 3980 | |
แครอท | 88 | 3890 | |
แกนข้าวโพดหวาน | - | 3320 | |
แตงกวา | 97 | 4103 | |
มะม่วง | 93 | 3770 | |
น้ำส้ม | 87 | 3890 | |
ลูกพลัม | 76.5 | 3500 | |
ผักโขม | 87 | 3800 | |
สตรอเบอร๋รี | 91 | 3805 | |
![]() |
|||
ขนมปังแบบขาว | 44 | 2720 | |
ขนมปังโฮลท์วีท | 48.5 | 2850 | |
แป้ง | 13 | 1800 |
รบกวนอ้างอิงที่มาให้ถูกต้องด้วยครับ
ตอบลบadmin[at]thaifoodscience.com
มีข้อมูลการคำนวณมั่งมั้ยคับ
ลบ